เมนู

10. มหานามสูตร


ว่าด้วยอนุสติของพระอริยสาวก


[281] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม
ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะ พระนามว่ามหานามะ
ได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญอริยสาวกผู้ได้บรรลุ ทราบชัดพระศาสนาแล้ว ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรม
ชนิดไหนเป็นส่วนมาก พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผล
ทราบชัดพระศาสนาแล้ว ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก คือ อริยสาวก
ในพระศาสนานี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตเนือง ๆ ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึง
พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ
ที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้
เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูก่อนมหานามะ สมัยใด อริยสาวกย่อม
ระลึกถึงพระตถาคตเนือง ๆ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะ
กลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรง
ทีเดียว ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภพระตถาคต ย่อมได้
ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบ
ด้วยธรรม เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ
กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อน

มหานามะ นี้อาตมภาพกล่าวว่า อริยสาวกเป็นผู้ถึงความสงบเรียบร้อยอยู่
ในเมื่อหมู่สัตว์ยังไม่สงบเรียบร้อย เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ ในเมื่อหมู่สัตว์
ยังมีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม ย่อมเจริญพุทธานุสติ.
ดูก่อนมหานามะ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรม
เนือง ๆ ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันผู้บรรลุจะพึง
เห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้ดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชน
จะพึงรู้เฉพาะตน ดูก่อนมหานามะ สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรม
เนือง ๆ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม. . .ก็อริยสาวก
ผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภพระธรรม ย่อมได้ความรู้อรรถ. . . เป็นผู้
ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม ย่อมเจริญธัมมานุสติ.
ดูก่อนมหานามะ อีกประการหนึ่ง อริยสารกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์
เนืองๆว่า สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติ
ตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อญายธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ นี้คือคู่บุรุษ 4 บุรุษ
บุคคล 8 นั่นคือสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรของคำนับ ควร
ของต้อนรับ ควรของทำบุญ ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มี
นาบุญอื่นยิ่งไปกว่า สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์เนือง ๆ สมัยนั้น
จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม. . . ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไป
ตรงเพราะปรารภพระสงฆ์ ย่อมได้ความรู้อรรถ . . . เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
กระแสธรรม ย่อมเจริญสังฆานุสติ.
ดูก่อนมหานามะ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตน
เนือง ๆ ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรร-
เสริญ อันตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ ดูก่อนมหานามะ

สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตนเนือง ๆ สมัยนั้น จิตของอริยสาวก
นั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม. . . ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภ
ศีล. . . ย่อมได้ความรู้อรรถ. . . เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม ย่อม
เจริญสีลานุสติ.
ดูก่อนมหานามะ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงการบริจาค
ของตนเนือง ๆ ว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ คือ เมื่อหมู่สัตว์
ถูกมลทิน คือความตระหนี่กลุ้มรุม เรามีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่
อยู่ครองเรือน เป็นผู้มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม (คอยหยิบของบริจาค)
ยินดีในการเสียสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน ดูก่อนมหานามะ
สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงการบริจาคเนือง ๆ สมัยนั้น จิตของอริยสาวก
นั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม. . . ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภ
จาคะ ย่อมได้ความรู้อรรถ. . . เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม ย่อม
เจริญจาคานุสติ.
ดูก่อนมหานามะ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมเจริญเทวตานุสติ
(ความระลึกถึงเทวดาเนือง ๆ) ว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราชมีอยู่ เทวดาเหล่า
ดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่ เทวดาเหล่านิม-
มานรดีมีอยู่ เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัสดีมีอยู่ เทวดาเหล่าพรหมกายิกามีอยู่
เทวดาที่สูงกว่าเหล่าพรหมนั้นมีอยู่ เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศรัทธาเช่น
ใด จุติจากโลกนี้แล้วอุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น
ศีลเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจาก
โลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น สุตะเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่า
นั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น จาคะ

เช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจาก
โลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ปัญญาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ ดูก่อน
มหานามะ สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ
ปัญญา ของตนและของเทวดาเหล่านั้นเมือง ๆ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น
ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ย่อมไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภ
เทวดา ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อัน
ประกอบด้วยธรรม เมื่อได้ความปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจประกอบ
ด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น
ดูก่อนมหานามะ นี้อาตมภาพกล่าวว่า อริยสาวกเป็นผู้ถึงความสงบเรียบร้อย
อยู่ ในเมื่อหมู่สัตว์ไม่สงบเรียบร้อย เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ ในเมื่อหมู่
สัตว์ยังมีความพยาบาทกันอยู่ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม ย่อมเจริญ
เทวตานุสติ ดูก่อนมหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผล ทราบชัดพระศาสนา
แล้ว ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก.
จบมหานามสูตรที่ 10
จบอาหุเนยยวรรคที่ 1

อรรถกถามหานามสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในมหานามสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มหานาโม ได้แก่เจ้าศากยะองค์หนึ่ง ผู้เป็นพระราชโอรส
แห่งพระเจ้าอาของพระทศพล. บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความ
ว่า ท้าวเธอเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ห้อมล้อมไปด้วยทาสและบริวารชน
ให้คนถือเอาของหอมและระเบียบเป็นต้น แล้วได้เสด็จไปในที่ที่พระบรมศาสดา
ประทับอยู่. (พระอริยสาวก) ชื่อว่า อาคตผโล เพราะมีอริยผลมาถึงแล้ว.
ชื่อว่า วิญฺญาตสาสโน เพราะมีคำสอนคือสิกขา 3 อันท่านรู้แจ้งแล้ว.
พระราชา (เจ้าศากยะพระนามว่า มหานาม) นี้ เมื่อจะทูลถามว่า ข้าพระองค์
ทูลถามถึงวิหารธรรมอันเป็นที่อาศัยของพระโสดาบัน ดังนี้จึงกราบทูลอย่างนี้.
บทว่า เนวสฺส ราคปริยุฏฺฐิตํ ความว่า (จิตของพระอริยสาวก-
นั้น) ไม่ถูกราคะที่เกิดขึ้น รุมรึงไว้. บทว่า อุชุคตํ ความว่า (จิตของพระ-
อริยสาวกนั้น ) ดำเนินตรงไป ในพุทธานุสติกัมมัฏฐาน. บทว่า ตถาคตํ
อารพฺภ
ได้แก่ปรารภพระคุณของพระตถาคตเจ้า.
บทว่า อตฺถเวทํ ได้แก่ปีติและปราโมทย์ที่เกิดขึ้น อาศัยอรรถกถา.
บทว่า ธมฺมเวทํ ได้แก่ปีติและปราโมทย์ ที่เกิดขึ้นอาศัยบาลี. บทว่า
ธมฺมูปสญฺหิตํ ได้แก่ปีติและปราโมทย์ ที่เกิดขึ้นอาศัยทั้งพระบาลี และ
อรรถกถา. บทว่า ปมุทิตสฺส ความว่า แก่ผู้ที่ปราโมทย์แล้ว ด้วยความ
ปราโมทย์ 2 อย่าง. บทว่า ปีติ ชายติ ความว่า ปีติ 5 อย่าง ย่อม
บังเกิด. บทว่า กาโย ปสฺสมฺภติ ความว่า ทั้งนามกาย ทั้งกรชกายย่อม
สงบระงับ ด้วยธรรมเป็นเครื่องสงบระงับซึ่งความกระวนกระวาย. บทว่า